ว่าด้วย Erik Erikson’s Psychosocial Development refer to ทูตธรรม @21-Jan

Last updated: 5 Feb 2021  |  1664 Views  | 

Lion Heart can trained.

ทูตธรรมตอนที่เรเมดี้จะหยิบยกขึ้นมาอ้างอิงถึง คือตอนของ “ความกล้า ความกลัว” (ชื่อตอนจริงๆเค้าว่า “น่ากลัว น่ากล้า” แต่แอดมินฟีลไม่อิน เลยขอตีความเปลี่ยนใหม่ ^/\^’’)
เนื้อหาที่ถูกพูดถึงนั้นมีความเทียบเคียงได้กับ 8 Stage ของการพัฒนาด้านความมั่นคงทางจิตใจที่เรียกว่า “Erik Erikson’s Psychosocial Development” โดยหลักการนี้อธิบายถึงระดับการเรียนรู้การพ่มเพาะพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์ตั้งแต่เด็กเล็กสุดจนถึงโตเป็นผู้ใหญ่ ว่าในแต่ละช่วงวัยเราจะได้เรียนรู้อารมณ์ใดเป็นพิเศษ ซึ่งจะทำให้มนุษย์แต่ละคนมีการแสดงบุคลิกที่แตกต่างกัน (แน่นอนว่าส่งผลต่อ Self-Esteem ที่วัยทำงานให้ความสำคัญอยู่ด้วยนะ) ทั้งนี้ 8 Stage สามารถถูกพัฒนาหรือค่อยๆแก้ไขให้ดีขึ้นได้ในทุกๆวันที่เราใช้ชีวิต
.
และ 5 ข้อหลักการของ “การเอาชนะ” ความกลัว ความท้อแท้ ความสิ้นหวังหรือระแวงต่างๆ เรียกว่าทำให้เราๆสามารถกล้าเผชิญหน้าต่อเหตุการณ์ที่เข้ามาสู่ชีวิตได้ “ตามความเป็นจริง” หรือเป็น Key ที่ทางรายการแนะนำว่าสามารถแก้ไขจุดอ่อนของเราในแต่ละ Stage ได้
/
8 Stage of Psychosocial development มีดังนี้ (ทางเรเมดี้จะไม่ขอกล่าวถึงในแง่การพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยต่อ Psychosocial มากนัก หากแต่จะพิจารณาในแง่ของบุคคลโตแล้วทั่วไป ที่ถ้าหาก Success หรือ Failure มักเป็นอย่างไร)
.
1 Trust / Mistrust ว่าด้วยเรื่องความวางใจ ไว้ใจ และความไม่สามารถไว้ใจ ไม่วางใจ
ตามทฤษฎีเค้าว่าหากบุคคลที่มี mindset ที่มีความหวัง/Hope หล่อเลี้ยงอยู่เป็นอารมณ์พื้นฐาน มีความกล้าที่จะลองไปเผชิญหน้าสิ่งที่ไม่รู้จัก หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา(ที่ปัจจุบันเรียกว่า Growth Mindset) แสดงว่าคนๆนั้นประสบความสำเร็จใน Stage นี้ โดยให้ลองสังเกตตัวเองหากเรามีความไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขี้ระแวงมากๆ จนส่งผลกระทบเห็นชัดเจนเมื่อเราจะลองออกจาก Comfort zone หรือแม้กระทั่งไม่ไว้วางใจในบุคคลใกล้ชิดกัน


2 Autonomy / Shame and Doubt ว่าด้วยการมีความเชื่อมั่นในตัวเอง และความลังเลสงสัย หรือไม่เข้าใจตัวเองอย่างแท้จริง
บุคคลที่ได้รับการพัฒนาด้านนี้จะทำให้มี Sense of Will หรือสามารถควบคุมตนเอง มีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้ว่าทุกๆคนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ ให้พื้นที่ตัวเองในการพัฒนาจะสามารถเสริมสร้างเป็นคนที่มี Hard skills หลากหลายได้อย่างดี โดยบุคคลที่ไม่ได้มีการพัฒนาด้านนี้อาจส่งผลต่อ Self-Esteem ซึ่งการจะพัฒนาหรือปรับปรุงข้อนี้เราอาจจะต้องค่อยๆบังคับให้ตัวเองออกไป explore อะไรที่ไม่คุ้นเคยและพยายาม“ไม่ตัดสิน”สิ่งที่ไม่คุ้นเคยนั้น เพื่อให้เราได้เรียนรู้สิ่งที่นอกเหนือพื้นที่ปลอดภัยของเรา


3 Initiative / Guilt ว่าด้วยความกล้ายืนหยัด และความไม่กล้ายืนหยัดสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง (ส่งผลต่อภาวะความเป็นผู้นำในสังคมการทำงาน ความสามารถในการรับผิดและรับชอบต่อหน้าที่)
บางครั้งการที่เราอยู่ในสังคม คนรอบตัวสิ่งแวดล้อมอาจทำให้ตัวเราเองไขว้เขวกับสิ่งที่ตัวเองเป็น ซึ่งบางครั้งก็ไม่ได้แปลว่าสังคมข้างนอกจะถูกต้องเสมอไป ทั้งนี้การที่จะสามารถยืนหยัดกับหลักอะไรสักอย่างได้ หลักการของ Erikson บอกกับเราว่า Purpose/จุดประสงค์ ถ้าชัดเจนมากพอ เราจะไม่เขว ใดๆก็ตามย่อมต้องฝึกฝน เพราะไม่ใช่เราจะ Ego จนไม่ฟังใคร หรือฟังจนสูญเสียความเป็นตัวเองและไม่กล้าที่จะแสดงจุดยืน


4 Industry / Inferiority ว่าด้วยความสามารถในการมานะบากบั่น อุตสาหะ และความกลัวต่อการเผชิญหน้าหรือกลัวล้มเหลว
ข้อนี้มักเกี่ยวโยงกับข้ออื่นๆก่อนหน้าด้วย เนื่องจากเมื่อเราขาด Self-esteem ก็ส่งผลให้ข้อนี้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเราอาจพยายามปกปิดความรู้สึกนี้ด้วยการพยายามทำ demanding เพื่อให้เราสามารถข้ามผ่านสิ่งที่กลัวจะเผชิญหน้า โดยยิ่งทำเช่นนี้จะเป็นการไปพัฒนาสิ่งที่ไม่ควรพัฒนา หรือ Inferiority ให้มากขึ้น และไปลดคุณค่าแห่งความมานะบากบั่นให้น้อยลง หากเราพยายามทำสิ่งใดด้วยตัวเอง พยายามฝืนสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบบ้าง อาจสังเกตได้ว่าเราจะเริ่มมีความพยายามอยากหาความรู้ ไม่รอผู้อื่นมาป้อน ก็นับได้ว่าเป็นหมุดหมายที่ดีที่เราได้พัฒนา Psychosocial ด้านนี้ในทางบวก


5 Identity / Role Confusion ว่าด้วยความเอกลักษณ์ มีความเป็นตัวเอง และว่าด้วยความสับสนไม่เป็นตัวของตัวเอง
ในหัวข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญที่มักพบเจอได้ตั้งแต่ในช่วงวัยรุ่นจนมาถึงวัยทำงาน เนื่องมาจากในช่วงวัยนี้ทุกๆคนล้วนอยากได้รับการยอมรับ ทำให้พยายามหาเอกลักษณ์ หรือหา Idol ที่คิดว่าตัวเองประทับใจ หัวข้อนี้ Erikson บอกกับเราว่าหากเราสามารถพัฒนาสิ่งนี้ได้จะค้นพบว่านอกจากเราสามารถยอมรับตัวตนของตัวเองทั้งด้านดีและไม่ดีได้แล้ว เราก็สามารถยอมรับความเป็นตัวเองของผู้อื่น ความหลากหลายของผู้อื่นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการที่เราจะค้นพบความเป็นตัวเอง ส่วนผสมที่พอเหมาะพอดีกับตัวเราโดยไม่ไปเทียบกับใคร ก็น่าจะมาการความ “กล้าคิดกล้าลอง” ที่มีอิทธิพลมาจากต่อข้อก่อนหน้าๆที่ผ่านมา


6 Intimacy / Isolation ว่าด้วยความสามารถในการสร้างสายสัมพันธ์ และว่าด้วยการปลีกตัว แยกตัว ไม่พยายามเข้าสังคม
เรื่องนี้เป็นหัวข้อยาวเรื่องนึงเพราะมนุษย์เริ่มเรียนรู้ให้ความใส่ใจมากๆในช่วงอายุตั้งแต่ 18 ปียาวมาถึง 40 ปี โดยเกี่ยวข้องกับการรู้จักเข้าสังคม การอยากสร้างความสัมพันธ์ การสร้างเครือข่ายกับกลุ่มบุคคลที่เราคิดว่าเข้ากันได้ ทั้งนี้การที่เรามีความสามารถในการรักษาความสัมพันธ์ เรียนรู้ รู้จักประเภทของคน ธรรมชาติของมนุษย์ต่างๆ เราได้เริ่มพัฒนา Sense of commitment โดยส่วนนี้เมื่อเราพัฒนามาในทางที่เหมาะสมสังเกตได้ว่าเราจะเริ่มมี “ความเมตตา” ต่อผู้อื่นมากเกินกว่าจะอยากให้ใครเป็นดั่งที่เราอยากให้เป็น


7 Generativity / Stagnation ว่าด้วยความรู้จักการเสียสละ และการเพิกเฉยต่อสิ่งรอบข้างยกเว้นตนเอง
หัวข้อนี้คุณ Erikson บอกเราว่าเริ่มๆเรียนรู้กันในวัยกลางคน(บางทีอาจไม่จำเป็น วัยก่อนหน้าก็มีสิทธิ์เรียนรู้กันได้) เนื่องมาจากในวัยดังกล่าวเพียบพร้อมทั้งกำลังสมองกำลังกาย ทรัพย์สิน และความสัมพันธ์แบบ 1st Tier คนเราจึงเริ่มหาสิ่งที่ตัวเองมีคุณค่าต่อสังคม ต่อผู้อื่นมากกว่าตัวเอง หากแต่บางครั้งเราจดจ่อแต่กับการสร้างความมั่งคั่งจนลืมภาพใหญ่ภาพรวมของชีวิตทำให้แยกระหว่างคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมไม่ออกซึ่งหากพอพิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงได้ ทางหลักการของ Erikson ได้บอกว่าเราจะเริ่มมีความรู้สึก Productive ตลอดเวลา Burnout ยาก และมีความรู้สึกใส่ใจต่อสิ่งรอบข้างหรือ Sense of care to community


8 Ego Integrity / Despair ว่าด้วยความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาแห่งตน และการสิ้นหวัง เสียดายต่อสิ่งที่ผ่านมา
Erikson ได้นิยาม Ego Integrity ไว้ว่าเป็น “The acceptance of one’s one and only life cycle as something that had to be” หรือก็คือการยอมรับในความปัจเจกของแต่ละชีวิต ซึ่งแน่นอนว่าท้ายที่สุดถึงแม้ Stage นี้จะเป็น Stage สุดท้ายหากแต่เราคงไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ในบั้นปลายชีวิต บุคคลที่พยายามสั่งสมภูมิปัญญาจะมองไปข้างหน้า ทราบดีว่าอะไรที่เรายังไม่รู้ มีบ้างที่อาจเคยเสียดาย แต่จะไม่จมกับสิ่งที่แก้ไขไม่ได้และไม่จมกับปัญหาที่ควบคุมทำอะไรไม่ได้ จะตรงไปตรงมากับจิตใจว่า “ปัญหามีแค่ 2 ประเภทเท่านั้นในโลกนี้ คือ ประเภทที่แก้ไขได้ด้วยตัวเอง กับปัญหาที่แก้ไขจากตัวเราเองไม่ได้” เมื่อพยายามดำรงจิตใจได้เช่นนี้ จะเห็นสภาวะตามความเป็นจริงแม้ในยามขึ้นและยามลง


--
ถึงแม้จะกาง 8 Stage นี้แล้ว แต่ยังขาด 5 ข้อในหลักการเสริมสร้างความกล้า เพื่อพัฒนาเป็นคนที่ดีขึ้นเรื่อยๆเพราะทุกๆคนล้วนมีทั้งเรื่องที่ประสบความสำเร็จและเจ็บปวดทั้งนั้น โดยหลักการดังกล่าว ทูตธรรมได้กล่าวถึงเรียกว่า “เวสารัชชกรณธรรม 5”
ประกอบไปด้วย


1 ศรัทธา 4 : เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ โดยความเชื่อมี 4 อย่างน่าควรเชื่อ
    • เชื่อในเรื่องของ “กรรม” กัมมสัทธา กรรม is การกระทำ เรากระทำถูกหรือไม่
    • เชื่อเรื่องผลของ “กรรม” วิปากสัทธา หรือธรรมที่ทำให้รู้ว่าผลของการกระทำเป็นอย่างไรอย่างแท้จริง กล่าวคือ ทำดี,ดีตั้งแต่ทำ ไม่ใช่รอผลแห่งความดีเกิด หรือทำชั่ว,ชั่วตั้งแต่คิดตั้งแต่ทำ ไม่ใช่รอตกนรก
    • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อในความว่าเรามีกรรมเป็นของตน เราย่อมเป็นเจ้าของแห่งการกระทำที่ต้องรับผิดชอบเสมอ โดย ยังผลให้ต้นทุนแต่ละคนไม่เท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะมีต้นทุนมาเช่นใด จะไม่ตีโพยตีพายหากแต่จะทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
    • ตถาคตโพธิสัทธา คือความศรัทธาในพระพุทธองค์ เชื่อในตถาคตที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ หรือพวกเราทุกคนนี้สามารถพัฒนาตนเองให้เข้าถึงความจริงอันสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการภาวนาศีล สมาธิ ปัญญา (ภาวนาไม่ใช่ท่องไม่ใช่ขอ ภาวนา=พัฒนา หรือทำให้เจริญ)


2 ศีล คือ ความปกติ การรักษากาย วาจา ใจ ให้ปกติ สงบอินทรี (อินทรี = กาย ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง) รู้ว่าอะไรควรเสพไม่ควรเสพ จะทำให้สงบเหตุแห่งความกลัวได้ เพราะเมื่อเรามั่นใจในการกระทำ ก็ทำให้ไม่เกิดอาการรู้สึกผิด เพราะเราสำรวมอาการ ระวังในการแสดงอาการต่างๆ ทำให้ทุกๆอิริยาบถมีสติกำกับ


3 พหุสัจจะ คือการที่คนได้เรียนได้ฟังมาเยอะ สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้
หรือหลักแห่งพหูสูจน์ เหตุแห่งการสร้างความกล้า คือต้องเป็นบุคคลคงแก่เรียน
เมื่อไม่รู้ ก็ไม่ลังเลใจที่จะหาคำตอบ หรือศึกษา วิจัย หาความรู้ หาครูบาอาจารย์
มีความคงแก่เรียน ตั้งใจตั้งมั่น ไม่ลังเลใจในการศึกษาหาข้อมูล
ไม่ปล่อยให้ความไม่รู้ครอบงำแล้วคิดไปเอง หรือไม่กล้าในการขยับตัวไปไหน


4 วิริยารัมภะ การปรารภความเพียร หรือตั้งมั่นในความต่อเนื่อง
มีความเพียรเป็นที่ตั้ง มีความตั้งมั่น เช่น เมื่อได้ริเริ่มศึกษาตามข้อ 3 แล้ว ก็ต้องลองนำสิ่งที่ศึกษามาลงมือทำ ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ไม่ย่อท้อ ไม่ละเลิกล้มเลิกง่ายๆ โดยวิจัยว่าอะไรที่ทำแล้วไม่เวิค ทำแล้วเวิคก็ศึกษาต่อ


5 ปัญญา แยกแยะจำแนกในการเลือกสรรว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ
การมีปัญญาจะช่วยให้เรา “เลือกทำ” อย่างไม่หลุดประเด็น เมื่อเรามีความเพียรแล้ว แต่ความเพียรจะไม่แหลมคมหากเราไม่สังเคราะห์ วิเคราะห์ว่าที่ทำนั้นตรงประเด็นหรือไม่ หรือที่พลาดพลั้งไปแล้วจะตรวจสอบแก้ไขอย่างไรให้เกิดภูมิปัญญาเพื่อครั้งหน้าไม่พลาดอีก


--
ใครอ่านถึงตรงนี้แล้วแอดมินขออนุโมทนาในความมานะและความเพียรล่วงหน้านะค้า
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกคนจะมีจิตใจที่แข็งแรง ใครที่เจอเหตุการณ์หนักขอเป็นกำลังใจให้ และหวังว่าบทความของเราจะช่วยเสริมกำลังให้ค่า
เมื่อจิตใจแข็งแรงแล้ว เสริมสร้างมีการหายใจที่ดีเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง
เลือกล้างจมูกด้วยอุปกรณ์เรเมดี้ด้วยน้า
ใครไม่เคยล้างจมูกถือเป็นการเอาชนะความกลัวด้วยการหาความรู้ วิธีการล้างจมูกจากเรเมดี้ตาม Link นี้เลยค่า > https://youtu.be/y9L5zORpdc4
.
Keep in touch with REMEDY #อุปกรณ์ล้างจมูกเรเมดี้
#RemedyTH
#HealthyAtHome
#FreshBreathMatters
.
REF:
https://www.simplypsychology.org/Erik-Erikson >> ว่าด้วย erik erikson’s psychosocial development
• Facebook page "งมงายสไตล์หมอบี" หรือ Ghost Ambassador ใน Youtube Channel รายการทูตธรรม ประจำวันที่ 21-01-21

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy